ขันธ์ ๕
เบญจขันธ์ หรือ ขันธ์ 5
เบญจขันธ์ หรือ ขันธ์ 5
เบญจขันธ์ หมายถึง กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมห้าหมวดที่ประชุมกันเข้าเป็นชีวิต
ขันธ์ 5 ประกอบด้วย รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
1. รูปขันธ์ กองรูป ส่วนที่เป็นรูป ร่างกาย ประกอบธาตุ ๔ คือ ส่วนที่เป็นของแข็งคือธาตุดิน เช่นกระดูก ส่วนที่เป็นของเหลว คือธาตุน้ำ เช่นน้ำเลือด ส่วนที่ทำให้รางกายอบอุ่น คือธาตุไฟ และมีลมเข้าออก เรียกว่าธาตุลม คือลมหายใจ และคุณสมบัติต่าง ๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด
2. เวทนาขันธ์ กองเวทนา ส่วนที่เป็นการเสวยรสอารมณ์ ความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือเฉย ๆ
เมื่อรับรู้เกิดความพอใจ มนุษย์เรียกว่า สุข เมื่อรับรู้เกิดความไม่พอใจ มนุษย์เรียกว่า ทุกข์ เมื่อรับรู้แล้วไม่ทุกข์ไม่สุข เรียกว่า อุเบกขา
3. สัญญาขันธ์ กองสัญญา หมายถึงความจำต่างๆ เช่นจำเรื่องราวต่างๆ จำอารมณ์ต่างๆ เช่นจำเสียง จำรูปสวย จำกลิ่นหอม จำรสหวาน จำร้อนเย็น เป็นต้น
4. สังขารขันธ์ กองสังขาร หมายถึงความคิดปรุงแต่งเรื่องๆ สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้คิดดีหรือคิดชั่วหรือเป็นกลาง ๆ คุณสมบัติต่าง ๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล
5. วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ ส่วนที่เป็นความรับรู้ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์ทางใจ อายตนะทั้ง 6
คือตา เรียกว่า จักขุวิญญาณ
หู เรียกว่า โสตวิญญาณ
จมูก เรียกว่า ฆานวิญญาณ
ลิ้น เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ
กาย เรียกว่า กายวิญญาณ
ใจ เรียก มโนวิญญาณ